เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 3. มหาเวทัลลสูตร

ปัจจัยแห่งเจโตวิมุตติ

[458] "ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขมีเท่าไร"
"ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขมี 4 ประการ
คือ (1) เพราะละสุขได้ (2) เพราะละทุกข์ได้ (3) เพราะโสมนัสดับไปก่อน
(4) เพราะโทมนัสดับไปก่อนแล้ว ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้จึงบรรลุจตุตถฌาน ซึ่งไม่มี
ทุกข์ ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่
ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขมี 4 ประการนี้แล"
"ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิต1 มีเท่าไร"
"ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี 2 ประการ คือ
1. การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง2
2. การมนสิการถึงนิพพานธาตุ ซึ่งไม่มีนิมิต3
ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี 2 ประการนี้แล"
"ปัจจัยแห่งการตั้งอยู่แห่งเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิต มีเท่าไร"
"ปัจจัยแห่งการตั้งอยู่แห่งเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี 3 ประการ คือ
1. ไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง
2. มนสิการถึงนิพพานธาตุ ซึ่งไม่มีนิมิต
3. อภิสังขาร4ในเบื้องต้น
ปัจจัยแห่งการตั้งอยู่แห่งเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี 3 ประการนี้แล"

เชิงอรรถ :
1 นิมิต ในความหมายนี้หมายถึงการออกจากนิโรธสมาบัติด้วยผลสมาบัติซึ่งเป็นผลเกิดจากวิปัสสนา (ม.มู.อ.
2/458/260)
2 นิมิตทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงอารมณ์มีรูปเป็นต้น (ม.มู.อ. 2/458/260)
3 การมนสิการถึงนิพพานซึ่งไม่มีนิมิต หมายถึงการมนสิการถึงธรรมที่เกิดร่วมกับผลสมาบัติ (ม.มู.อ.
2/458/260)
4 อภิสังขาร หมายถึงการกำหนดระยะเวลาอยู่ในสมาธิ (ม.มู.อ. 2/458/260)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :496 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [5. จูฬยมกวรรค] 3. มหาเวทัลลสูตร

"ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิต มีเท่าไร"
"ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี 2 ประการ คือ
1. การมนสิการถึงนิมิตทั้งปวง
2. การไม่มนสิการถึงนิพพานธาตุ ซึ่งไม่มีนิมิต
ปัจจัยแห่งการออกจากเจโตวิมุตติ ซึ่งไม่มีนิมิตมี 2 ประการนี้แล"
[459] "ท่านผู้มีอายุ ธรรมเหล่านี้ คือ อัปปมาณาเจโตวิมุตติ1
อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ2 สุญญตาเจโตวิมุตติ3 อนิมิตตาเจโตวิมุตติ4 มีอรรถต่างกัน
มีพยัญชนะต่างกัน หรือมีอรรถอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น"
"ท่านผู้มีอายุ เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกัน และมี
พยัญชนะต่างกัน เหตุนั้นมีอยู่ อนึ่ง เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถ
อย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น เหตุนั้นมีอยู่"
"เพราะอาศัยเหตุใด ธรรมเหล่านี้จึงมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกัน
เหตุนั้นเป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 ... ทิศที่ 2 ...
ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลก

เชิงอรรถ :
1 อัปปมาณาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม 12 ประการ คือ พรหมวิหาร 4 มรรค 4 ผล 4 พรหมวิหาร
ชื่อว่า อัปปมาณะ เพราะแผ่ไปหาประมาณมิได้ ธรรมที่เหลือชื่อว่าอัปปมาณะ เพราะไม่มีกิเลสเป็นเครื่องวัด
(ม.มู.อ. 2/459/262, สํ.สฬา.อ. 3/349/160)
2 อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม 9 ประการ คือ อากิญจัญญายตนะ 1 มรรค 4 ผล 4
อากิญจัญญายตนะ ชื่อว่าอากิญจัญญะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวลเป็นอารมณ์ มรรคและผล ชื่อว่า
อากิญจัญญะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวลคือกิเลสเครื่องย่ำยีและกิเลสเครื่องผูก (ม.มู.อ. 2/459/262,
สํ.สฬา.อ. 3/349/160)
3 สุญญตาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ความหลุดพ้นโดยว่างจากราคะ โทสะ โมหะ เพราะพิจารณานามรูปโดยความ
เป็นอนัตตา (ม.มู.อ. 2/459/263, สํ.สฬา.อ. 3/349/161)
4 อนิมิตตาเจโตวิมุตติ ได้แก่ ธรรม 13 ประการ คือ วิปัสสนา 1 อรูป 4 มรรค 4 ผล 4 (ม.มู.อ.
2/459/263, สํ.สฬา.อ. 3/349/161)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :497 }